วันศุกร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

La liberté guidant le peuple.

La liberté guidant le peuple.
La Liberté guidant le peuple est un tableau très marquant d'Eugène Delacroix. Il s'est d'ailleurs trouvé sur des timbres postaux français et, de 1978 à 1997, sur le billet de banque de cent franc français.
Cette œuvre se retrouve dans une gravure représentant la Révolution de Juillet[réf. nécessaire]. Le personnage au chapeau, à l'origine un révolutionnaire sur des barricades, y est identique, et la femme au drapeau français y est représentée par un autre révolutionnaire tenant un drapeau rouge. Cette gravure originale à l'instar de « La Liberté guidant le peuple », s'est retrouvée sur un timbre soviétique.
Situation historique
Eugène Delacroix écrit à son frère le 18 octobre 1830 : « Si je n’ai pas vaincu pour la Patrie, au moins peindrai-je pour elle... ». Cette œuvre représente les Trois Glorieuses, un soulèvement populaire contre Charles X, qui dura trois jours, les 27, 28 et 29 juillet 1830. Charles X ayant instauré des lois liberticides, le peuple se révolta puis le renversa. Louis-Philippe le remplaça dans la « Monarchie de juillet ».
L'artiste lui-même appartient à une longue lignée de grands révolutionnaires, qu'a produite le « pays des révolutions ». Delacroix n'acceptait pas les normes de l'Académie. En peinture, il ne s'intéressait guère aux styles grecs et romains avec l'insistance sur le dessin et l'imitation des statues antiques. Delacroix privilégiait la couleur au dessin, l'imagination au savoir, la spontanéité du geste sur la maîtrise. Il voyagea beaucoup au Moyen-Orient et en Afrique du Nord. Les esquisses qu'il ramena lui fournirent un grand répertoire de thèmes (chasse au lion, scènes de guerre...).
Il s'agit d'une œuvre pleine de vitalité, d'action et d'audace. C'est l'union du peuple des faubourgs et de la bourgeoisie révolutionnaire, représentés par les personnages respectivement à la gauche et à la droite de la Liberté (de sa place).
Cette œuvre est assez imposante puisqu'elle mesure 3,25 m sur 2,60 m.
Le jeune garçon qui brandit un pistolet dans les airs a inspiré à Victor Hugo son personnage Gavroche dans Les Misérables qui a été écrit trente ans plus tard, le personnage au chapeau y est également représenté comme un fils d'aristocrate, révolutionnaire et ami de Gavroche et de Jean Valjean. C'est l'un des rares emprunts de la littérature à la peinture, dont la relation d'influences est généralement dans l'autre sens.
Sur le personnage au chapeau, à gauche de la Liberté, les critiques pensaient que Delacroix avait fait un autoportrait, mais de nos jours encore la question reste en suspens.
Les romantiques jouent beaucoup sur l'atmosphère. Dans ce cas, on se sent appelé, on sent qu'on fait partie du peuple.
Pour mieux saisir ce qui distingue le romantisme du courant précédent, si ce tableau avait été classique, la Liberté regarderait droit devant, elle serait plus centrée dans l'œuvre, elle serait juchée sur un socle, et non sur une pile de cadavres, et le drapeau qu'elle porte ne serait pas tronqué.
En France, ce tableau servit à illustrer les billets de banque de cent francs de 1978 à 1995, et la série de timbres d'usage courant « Liberté » de 1982 à 1990.
Anecdotes
Certains reconnaissent au jeune homme la figure de l'étudiant, car il porte la faluche, ce qui bien sûr historiquement est impossible puisque le tableau représente la Révolution de Juillet 1830 alors que la faluche n'est apparue qu'en 1888.
En 1999, lors d'un voyage pour une exposition de cinq semaines au Japon, les seins (découverts) de la Liberté furent masqués lors d'une escale dans le Golfe. Le cadre original du tableau a été cassé pendant ce même voyage. Le cadre de remplacement (simple) cache tous les bords de la toile.
En 2006, le gouvernement turc a demandé à l'éditeur d'un manuel scolaire de retirer cette illustration de son livre scolaire pour la même raison.
En 2006, l’État américain du Maine considère ce tableau, qui illustre l’étiquette de la bière des Sans-Culottes (brasserie La Choulette), comme « undignified or improper » (manquant de dignité ou indécent). La commercialisation de cette bière donne lieu à un débat sur la liberté d'expression dans le Maine et dans quatre autres États des États-Unis dont celui de New York
En 2008, le tableau sert à illustrer la pochette du quatrième album de Coldplay, intitulé Viva la Vida or Death and All His Friends en référence à un tableau de Frida Kahlo.
Le logo de Debout la République (DLR), parti politique de tendance gaulliste et républicaine, créé en 1993 et présidé par Nicolas Dupont-Aignan, reprend la silhouette du tableau.

วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ลูกแพนด้าตัวแรกในประเทศไทย


"หลินฮุ่ย" คลอดฟ้าผ่าลูกแพนด้าตัวแรกในประเทศไทย
เริ่มต้นวันนี้ด้วยข่าวดีๆ ที่ทำให้คนไทยยิ้มได้ในสถานการณ์บ้านเมืองที่ยุ่งเหยิงแบบนี้ ด้วยข่าวของการคลอดแบบสายฟ้าแลบของแพนด้าตัวแรกในประเทศไทย หลังเพิ่งผสมเทียมได้เพียง3เดือน!!
โดยรายงานจากจังหวัดเชียงใหม่ แจ้งว่า เมื่อเวลาประมาณ10.39น.วันนี้(27พ.ค.) “หลินฮุ่ย” แพนด้าตัวเมีย ทูตสันถวไมตรีไทย-จีน ตามโครงการวิจัยและจัดแสดงหมีแพนด้าในประเทศไทย ที่สวนสัตว์เชียงใหม่ ได้ให้กำเนิดลูกแพนด้าจำนวน1ตัว หลังจากที่ได้ทำการผสมเทียมโดยใช้น้ำเชื้อของ“ช่วงช่วง”หมีแพนด้าตัวผู้ เมื่อวันที่18ก.พ.2552ซึ่งเบื้องต้นยังไม่ทราบว่าลูกแพนด้ามีเพศใด เนื่องจาก “หลินฮุ่ย”มีอาการห่วงและกอดลูกไว้เกือบตลอดเวลาไม่ยอมให้เข้าใกล้ แต่ลูกแพนด้ามีสุขภาพแข็งแรงดีและน่าจะมีน้ำหนักไม่น้อยกว่า200กรัม
ทั้งนี้ หลินฮุ่ย เริ่มมีการแสดงอาการให้เห็นตั้งแต่ช่วงกลางดึกที่ผ่านมา จนกระทั่งคลอดลูกออกมาเมื่อช่วงสายวันนี้ โดยเมื่อคลอดออกมา หลินฮุ่ยได้คาบลูกมาไว้ในอ้อมกอดเป็นอย่างดี ซึ่งทำให้มีความมั่นใจในระดับหนึ่งว่า หลินฮุ่ย จะเป็นแม่ที่ดี และเลี้ยงลูกแพนด้าได้ แม้จะเป็นท้องแรกก็ตาม
อย่างไรก็ตามหลังจากการคลอดลูกแพนด้าครั้งนี้ จะต้องมีการติดตามดูแลอย่างใกล้ชิดต่อไป ว่า ลูกแพนด้าได้กินนมจากแม่หรือไม่ หากได้กินก็จะให้หลินฮุ่ยเลี้ยงต่อไป แต่ถ้าไม่ก็ต้องพยายามแยกลูกออกมาเพื่อป้อนนม ซึ่งจากการสังเกตเบื้องต้นเชื่อว่าลูกน่าจะได้กินนมไปบ้างแล้ว
สำหรับลูกแพนด้าที่ถือกำเนิดขึ้นภายใต้ความดูแลของโครงการวิจัยและจัดแสดงแพนด้าในประเทศไทยนั้น ถือว่าเป็นลูกแพนด้าที่เกิดขึ้นนอกประเทศจีนด้วยการผสมเทียมเป็นประเทศที่สาม ต่อจากสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่นซึ่งได้แจ้งข่าวนี้ให้ทางจีนทราบแล้ว และจะมีผู้เชี่ยวชาญจากจีนเดินทางมาถึงสวนสัตว์เชียงใหม่ ในวันพรุ่งนี้ (28พ.ค.)เพื่อช่วยเหลือและให้คำแนะนำในการเลี้ยงดูลูกแพนด้า ร่วมกับทีมงานสัตวแพทย์และเจ้าหน้าที่ ที่ได้ไปอบรมการเลี้ยงดูมาแล้วจากจีน
ทั้งนี้ ตามสัญญาลูกแพนด้าตัวนี้ จะอยู่ในความดูแลของไทย 24เดือน จากนั้นจะถูกส่งกลับจีน อย่างไรก็ตาม อาจจะมีการเจรจาเพื่อขอขยายเวลาออกไปอีก ขณะที่การเปิดโอกาสให้ประชาชนได้ชื่นชมคงจะต้องปรึกษากับทางผู้เชี่ยวชาญจีนอีกครั้ง แต่น่าจะเป็นอีกประมาณ 6เดือน และจะมีการประกวดตั้งชื่อในเร็วๆ นี้
ในส่วนของการดูแลแพนด้าแม่ลูกนั้น สัตวแพทย์หญิง กรรณิการ์ นิ่มตระกุล สัตวแพทย์ประจำโครงการวิจัยและจัดแสดงแพนด้าในประเทศไทย กล่าวว่า ในช่วง 2สัปดาห์จากนี้ จะต้องมีการติดตามดูแลหลินฮุ่ยและลูกแพนด้าตลอดเวลา ว่า มีการให้นมลูกหรือไม่อย่างไร โดยหากลูกแพนด้าได้รับนมจากแม่ตลอด1 สัปดาห์ ก็จะมีสุขภาพแข็งแรงดี ซึ่งเบื้องต้นนับว่าเป็นสัญญาณที่ดีที่หลินฮุ่ยเลี้ยงและดูแลลูกตลอดเวลา จึงเชื่อว่าไม่น่าจะมีปัญหา
ส่วนการแยกลูกแพนด้านั้น หากเป็นแพนด้าที่เลี้ยงในประเทศจีน หากคลอดลูกแล้วจะทำการแยกจากแม่แพนด้า เมื่อลูกอายุได้ 6เดือน โดยที่แม่แพนด้าก็จะกลับไปเป็นเหมือนแพนด้าสาวอีกครั้งหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ในส่วนของหลินฮุ่ยและลูกนั้น เบื้องต้นทางทีมงานตั้งใจว่าจะปล่อยให้การเลี้ยงดูเป็นไปตามธรรมชาติ ที่ปกติแม่แพนด้าจะเลี้ยงดูลูกไปจนกว่าจะมีอายุประมาณ1 ปี6 เดือน ที่เริ่มกินไผ่ได้เองแล้ว
ด้าน นายประเสริฐศักดิ์ บุญตระกูลพูนทวี หัวหน้าโครงการจัดแสดงและวิจัยแพนด้าในประเทศไทย กล่าวว่า ในช่วงนี้ หลินฮุ่ย รวมทั้งลูกแพนด้า จะได้รับการดูแลอยู่แต่ภายในคอกกักเท่านั้น โดยจะยังไม่ปล่อยให้ออกมายังส่วนจัดแสดง อย่างไรก็ตาม เตรียมที่จะทำการติดตั้งโทรทัศน์แล้วถ่ายทอดสัญญาณภาพจากกล้องวงจรปิดมาให้นักท่องเที่ยว และประชาชนที่สนใจได้ร่วมกันชื่นชม จนกว่าจะถึงเวลาที่เหมาะสมให้แพนด้าทั้งแม่และลูกออกมายังส่วนจัดแสดงได้

และในช่วงหัวค่ำของวันที่27ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ได้นำลูกแพนด้าออกมาวัดขนาดตัวและชั่งน้ำหนัก พบว่า มีน้ำหนัก 235กรัม ซึ่งหนักกว่ามาตรฐาน มีความยาวตั้งแต่หัวถึงหาง17.5เซนติเมตร รอบหัว 10เซนติเมตร และรอบอก 17.5เซนติเมตร ส่วนเพศยังไม่สามารถระบุแน่ชัดได้ เพราะอวัยวะเพศมีขนาดเล็กมาก แต่มีแนวโน้มมากว่าน่าจะเป็นตัวเมีย ซึ่งจะต้องรอให้ผู้เชี่ยวชาญจีนมาตรวจอย่างละเอียด
ถือว่าเป็นความสำเร็จและเป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างยิ่งเลยนะคะ สำหรับการให้กำเนิดลูกแพนด้าตัวแรกในเมืองไทย พ่อชื่อช่วงช่วง แม่ชื่หลินฮุ่ย

วันอาทิตย์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ความรู้

ความรู้ คือความเข้าใจในเรื่องบางเรื่อง หรือสิ่งบางสิ่ง ซึ่งอาจจะรวมไปถึงความสามารถในการนำสิ่งนั้นไปใช้เพื่อเป้าหมายบางประการ ความสามารถในการรู้บางอย่างนี้เป็นสิ่งสนใจหลักของวิชาปรัชญา (ที่หลายครั้งก็เป็นเรื่องที่มีการโต้เถียงอย่างมาก) และมีสาขาที่ศึกษาด้านนี้โดยเฉพาะเรียกว่าญาณวิทยา (epistemology) ความรู้ในทางปฏิบัติมักเป็นสิ่งที่ทราบกันในกลุ่มคน และในความหมายนี้เองที่ความรู้นั้นถูกปรับเปลี่ยนและจัดการในหลาย ๆ แบบ

นิยามของความรู้

คำว่า ความรู้ (Knowledge) นั้น ในทัศนะของฮอสเปอร์ (อ้างถึงในมาโนช เวชพันธ์ 2532, 15-16) นับเป็นขั้นแรกของพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการจดจำ ซึ่งอาจจะโดยการนึกได้ มองเห็น ได้ยิน หรือ ได้ฟัง ความรู้นี้ เป็นหนึ่งในขั้นตอนของการเรียนรู้ โดยประกอบไปด้วยคำจำกัดความหรือความหมาย ข้อเท็จจริง ทฤษฎี กฎ โครงสร้าง วิธีการแก้ไขปัญหา และมาตรฐานเป็นต้น ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า ความรู้เป็นเรื่องของการจำอะไรได้ ระลึกได้ โดยไม่จำเป็นต้องใช้ความคิดที่ซับซ้อนหรือใช้ความสามารถของสมองมากนัก ด้วยเหตุนี้ การจำได้จึงถือว่าเป็น กระบวนการที่สำคัญในทางจิตวิทยา และเป็นขั้นตอนที่นำไปสู่พฤติกรรมที่ก่อให้เกิดความเข้าใจ การนำความรู้ไปใช้ในการวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การประเมินผล ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ได้ใช้ความคิดและความสามารถทางสมองมากขึ้นเป็นลำดับ ส่วนความเข้าใจ (Comprehension) นั้น ฮอสเปอร์ ชี้ให้เห็นว่า เป็นขั้นตอนต่อมาจากความรู้ โดยเป็นขั้นตอนที่จะต้องใช้ความสามารถของสมองและทักษะในชั้นที่สูงขึ้น จนถึงระดับของการสื่อความหมาย ซึ่งอาจเป็นไปได้โดยการใช้ปากเปล่า ข้อเขียน ภาษา หรือการใช้สัญลักษณ์ โดยมักเกิดขึ้นหลังจากที่บุคคลได้รับข่าวสารต่าง ๆ แล้ว อาจจะโดยการฟัง การเห็น การได้ยิน หรือเขียน แล้วแสดงออกมาในรูปของการใช้ทักษะหรือการแปลความหมายต่าง ๆ เช่น การบรรยายข่าวสารที่ได้ยินมาโดยคำพูดของตนเอง หรือการแปลความหมายจากภาษาหนึ่งไปเป็นอีกภาษาหนึ่ง โดยคงความหมายเดิมเอาไว้ หรืออาจเป็นการแสดงความคิดเห็นหรือให้ข้อสรุปหรือการคาดคะเนก็ได้
ประภาเพ็ญ สุวรรณ (อ้างถึงในอักษร สวัสดี 2542, 26) ได้ให้คำอธิบายว่า ความรู้ เป็นพฤติกรรมขั้นต้นที่ผู้เรียนรู้เพียงแต่เกิดความจำได้ โดยอาจจะเป็นการนึกได้หรือโดยการมองเห็น ได้ยิน จำได้ ความรู้ในชั้นนี้ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับคำจำกัดความ ความหมาย ข้อเท็จจริง กฎเกณฑ์ โครงสร้างและวิธีแก้ไขปัญหา ส่วนความเข้าใจอาจแสดงออกมาในรูปของทักษะด้าน “การแปล” ซึ่งหมายถึง ความสามารถในการเขียนบรรยายเกี่ยวกับข่าวสารนั้น ๆ โดยใช้คำพูดของตนเอง และ “การให้ความหมาย” ที่แสดงออกมาในรูปของความคิดเห็นและข้อสรุป รวมถึงความสามารถในการ “คาดคะเน” หรือการคาดหมายว่าจะเกิดอะไรขึ้น
เบนจามิน บลูม (Benjamin S. Bloom อ้างถึงในอักษร สวัสดี 2542, 26-28) ได้ให้ความหมายของ ความรู้ ว่าหมายถึง เรื่องที่เกี่ยวกับการระลึกถึงสิ่งเฉพาะ วิธีการและกระบวนการต่าง ๆ รวมถึงแบบกระสวนของโครงการวัตถุประสงค์ในด้านความรู้ โดยเน้นในเรื่องของกระบวนการทางจิตวิทยาของความจำ อันเป็นกระบวนการที่เชื่อมโยงเกี่ยวกับการจัดระเบียบ โดยก่อนหน้านั้นในปี ค.ศ. 1965 บลูมและคณะ ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับการรับรู้หรือพุทธิพิสัย (cognitive domain) ของคน ว่าประกอบด้วยความรู้ตามระดับต่าง ๆ รวม 6 ระดับ ซึ่งอาจพิจารณาจากระดับความรู้ในขั้นต่ำไปสู่ระดับของความรู้ในระดับที่สูงขึ้นไป โดยบลูมและคณะ ได้แจกแจงรายละเอียดของแต่ละระดับไว้ดังนี้
1. ความรู้ (Knowledge) หมายถึง การเรียนรู้ที่เน้นถึงการจำและการระลึกได้ถึงความคิด วัตถุ และปรากฏการณ์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นความจำที่เริ่มจากสิ่งง่าย ๆ ที่เป็นอิสระแก่กัน ไปจนถึงความจำในสิ่งที่ยุ่งยากซับซ้อนและมีความสัมพันธ์ระหว่างกัน
2. ความเข้าใจหรือความคิดรวบยอด (Comprehension) เป็นความสามารถทางสติปัญญาในการขยายความรู้ ความจำ ให้กว้างออกไปจากเดิมอย่างสมเหตุสมผล การแสดงพฤติกรรมเมื่อเผชิญกับสื่อความหมาย และความสามารถในการแปลความหมาย การสรุปหรือการขยายความสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
3. การนำไปปรับใช้ (Application) เป็นความสามารถในการนำความรู้ (knowledge) ความเข้าใจหรือความคิดรวบยอด (comprehension) ในเรื่องใด ๆ ที่มีอยู่เดิม ไปแก้ไขปัญหาที่แปลกใหม่ของเรื่องนั้น โดยการใช้ความรู้ต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิธีการกับความคิดรวบยอดมาผสมผสานกับความสามารถในการแปลความหมาย การสรุปหรือการขยายความสิ่งนั้น
4. การวิเคราะห์ (Analysis) เป็นความสามารถและทักษะที่สูงกว่าความเข้าใจ และการนำไปปรับใช้ โดยมีลักษณะเป็นการแยกแยะสิ่งที่จะพิจารณาออกเป็นส่วนย่อย ที่มีความสัมพันธ์กัน รวมทั้งการสืบค้นความสัมพันธ์ของส่วนต่าง ๆ เพื่อดูว่าส่วนประกอบปลีกย่อยนั้นสามารถเข้ากันได้หรือไม่ อันจะช่วยให้เกิดความเข้าใจต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดอย่างแท้จริง
5. การสังเคราะห์ (Synthesis) เป็นความสามารถในการรวบรวมส่วนประกอบย่อย ๆ หรือส่วนใหญ่ ๆ เข้าด้วยกันเพื่อให้เป็นเรื่องราวอันหนึ่งอันเดียวกัน การสังเคราะห์จะมีลักษณะของการเป็นกระบวนการรวบรวมเนื้อหาสาระของเรื่องต่าง ๆ เข้าไว้ด้วยกัน เพื่อสร้างรูปแบบหรือโครงสร้างที่ยังไม่ชัดเจนขึ้นมาก่อน อันเป็นกระบวนการที่ต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์ภายในขอบเขตของสิ่งที่กำหนดให้
6. การประเมินผล (Evaluation) เป็นความสามารถในการตัดสินเกี่ยวกับความคิด ค่านิยม ผลงาน คำตอบ วิธีการและเนื้อหาสาระเพื่อวัตถุประสงค์บางอย่าง โดยมีการกำหนดเกณฑ์ (criteria) เป็นฐานในการพิจารณาตัดสิน การประเมินผล จัดได้ว่าเป็นขั้นตอนที่สูงสุดของพุทธิลักษณะ (characteristics of cognitive domain) ที่ต้องใช้ความรู้ความเข้าใจ การนำไปปรับใช้ การวิเคราะห์และการสังเคราะห์เข้ามาพิจารณาประกอบกันเพื่อทำการประเมินผลสิ่งหนึ่งสิ่งใด
ความรู้คือ สิ่งที่มนุษย์สร้าง ผลิต ความคิด ความเชื่อ ความจริง ความหมาย โดยใช้ ข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น ตรรกะ แสดงผ่านภาษา เครื่องหมาย และสื่อต่าง ๆ โดยมีเป้าหมายและวัตถุประสงค์เป็นไปตามผู้สร้าง ผู้ผลิตจะให้ความหมาย
ความรู้มีโครงสร้างอยู่ 2 ระดับ คือ โครงสร้างส่วนบนของความรู้ ได้แก่ Idea ปรัชญา หลักการ อุดมการณ์ โครงสร้างส่วนล่างของความรู้ ได้แก่ ภาคปฏิบัติการของความรู้ ได้แก่องค์ความรู้ที่แสดงในรูปของ ข้อเขียน สัญญะ การแสดงออกในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ศิลปะ การเดินขบวนทางการเมือง โครงสร้างส่วนล่างของความรู้ มีโครงสร้างระดับลึกคือ ความหมาย (significant)
ความรู้และอำนาจ เป็นสิ่งเดียวกัน เพราะถูกผลิต และ เคลือบไว้ภายใต้รูปแบบ 2 รูปแบบ คือ 1. รูปแบบที่แสดงออกถึงความรุนแรง ได้แก่ ความรู้ทางด้านการปราบปราม การทหาร การควบคุมนักโทษ อาชญวิทยา การสงคราม จิตเวชศาสตร์ 2. รูปแบบที่แสดงออกถึงความไม่รุนแรง แต่แฝงไว้ด้วยความรุนแรง ได้แก่ ความรู้ทางด้านสื่อสารมวลชน การโฆษณา การตลาด ทฤษฎีบริหารธุรกิจ ทฤษฎีทางการเมือง ความรู้ทางการศึกษา การพัฒนาและทุกสิ่ง ที่ใช้การครอบงำความคิด ผ่านปฏิบัติการทางการสร้างความรู้เพื่อ กีดกัน/เบียดขับ/ควบคุม มนุษย์

วันพุธที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ประวัติภาษาฝรั่งเศส


ภาษาฝรั่งเศส
ภาษาฝรั่งเศส (ฝรั่งเศส: Français, อังกฤษ French) เป็นหนึ่งในภาษากลุ่มโรมานซ์ที่สำคัญที่สุด เป็นรองเพียงภาษาสเปนและโปรตุเกส ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาที่มีคนนิยมเป็นอันดับที่ 11 ของโลก โดยเมื่อปี พ.ศ. 2542 มีคนพูดภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาภาษาแม่ (ฟรองโกโฟน) ประมาณ 77 ล้านคน และเมื่อรวมคนที่พูดเป็นภาษาที่สองแล้วจะมีประมาณ 128 ล้านคน
ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาราชการ และภาษาที่ใช้ปกครองในชุมชนต่าง ๆ โดยเฉพาะประเทศที่เคยเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส รวมถึงองค์กรต่าง ๆ ด้วย (เช่น สหภาพยุโรป ไอโอซี องค์การสหประชาชาติ และ สหภาพสากลไปรษณีย์) ในสมัยก่อนภาษาฝรั่งเศสถือเป็นภาษาสากลที่แพร่หลายที่สุด โดยมีสถานะเฉกเช่นภาษาอังกฤษในปัจจุบัน หนังสือเดินทางของไทยก็เคยใช้ภาษาฝรั่งเศสควบคู่กับภาษาไทย
ประวัติ
ยุคเริ่มแรก
ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาในกลุ่มภาษาโรมานซ์ กล่าวคือ เป็นภาษาที่มีต้นกำเนิดจากภาษาละตินที่พูดกันในจักรวรรดิโรมันโบราณ ก่อนหน้าที่ดินแดนที่เป็นที่ตั่งประเทศฝรั่งเศสในปัจจุบันจะอยู่ใต้การปกครองของโรมัน ดินแดนดังกล่าวเคยอยู่ใต้การปกครองของพวกกอล ซึ่งเป็นหนึ่งในชนชาติเซลต์ ในสมัยนั้นดินแดนประเทศฝรั่งเศสมีคนที่พูดภาษาถิ่นต่าง ๆ กันหลายภาษา แม้ว่าชาวฝรั่งเศสจะชอบสืบที่มาของภาษาของตนไปถึงพวกโกล (les Gaulois) แต่มีคำในภาษาฝรั่งเศสเพียง 2,000 คำเท่านั้นที่มีที่มามาจากภาษาของพวกโกล ซึ่งโดยมากจะเป็นคำที่ใช้เป็นชื่อสถานที่ หรือเป็นคำที่มีความหมายเกี่ยวกับธรรมชาติ
หลังจากที่ชาวโรมันได้เข้ามายึดดินแดนของพวกโกล คนที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้นก็ได้เปลี่ยนมาพูดภาษาละติน ซึ่งภาษาละตินที่พูดกันในบริเวณนี้ ไม่ใช่ภาษาละตินชั้นสูงแบบที่พูดกันในหมู่ชนชั้นสูงของกรุงโรม แต่เป็นภาษาละตินของชาวบ้าน (vulgar latin) ที่พูดกันในหมู่พลทหาร นอกจากนี้ ภาษาละตินที่พูดกันอยู่ในฝรั่งเศสนั้น ก็ได้รับอิทธิพลจากภาษากอลอยู่พอควร เนื่องจากสิ่งของบางอย่างที่ใช้กันอยู่ในกอล พวกโรมันไม่มีชื่อเรียก จึงต้องขอยืมคำในภาษาโกลมาเรียกสิ่งของเหล่านั้น เช่น les braies ซึ่งแปลว่าเครื่องแต่งกายจำพวกกางเกงของชาวโกล

ยุคอาณาจักรแฟรงก์
หลังจากคริสต์ศตวรรษที่ 3 เป็นต้นมา จักรวรรดิโรมันก็เสื่อมอำนาจ ดินแดนหลายส่วนของจักรวรรดิโรมันตกอยู่ในเงื้อมมือของชนเผ่าป่าเถื่อนหลายพวก ชนเผ่าป่าเถื่อนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในดินแดนที่เป็นประเทศฝรั่งเศสปัจจุบัน ได้แก่ ชนเผ่าแฟรงก์ที่อาศัยอยู่ทางเหนือ ชนเผ่าวิซิกอทที่อาศัยอยู่ทางใต้ ชนเผ่าเบอร์กันดีในบริเวณริมแม่น้ำโรน และชนเผ่าเอลแมนที่อาศัยอยู่บริเวณพรมแดนของประเทศฝรั่งเศสและเยอรมนี ชนเผ่าป่าเถื่อนเหล่านี้พูดภาษาในกลุ่มภาษาเยอรมนิก สำเนียงของชนเหล่านี้ได้ส่งผลต่อภาษาละตินที่เคยพูดอยู่เดิมในฝรั่งเศส และคำจากภาษาของชนป่าเถื่อน ได้แก่ คำที่มีความหมายเกี่ยวกับยุทธวิธีในการรบ และชนชั้นทางสังคม ได้ถูกนำมาใช้ในภาษาละตินที่พูดกันอยู่ในฝรั่งเศส โดยภาษาฝรั่งเศสปัจจุบันมีคำที่มีที่มาจากคำในภาษาของชนป่าเถื่อนอยู่ราว ๆ ร้อยละ 15

ภาษาฝรั่งเศสในยุคกลาง
นักภาษาศาสตร์ได้จัดจำแนกภาษาฝรั่งเศสที่พูดกันในยุคกลางออกเป็น 3 จำพวก คือ พวกแรกคือภาษาที่เรียกกันว่า Langue d'Oïl พูดกันอยู่ทางตอนเหนือของประเทศ พวกที่สองคือ Langue d'Oc ที่พูดกันอยู่ทางใต้ของประเทศ และพวกที่สามคือ Franco-Provençal ซึ่งเป็นการผสมผสานกันของสองภาษาแรก
Langue d'Oïl เป็นภาษาที่ใช้คำว่า oïl ในคำพูดว่า "ใช่" (ปัจจุบันใช้คำว่า oui) ในสมัยกลางภาษานี้จะพูดกันในตอนเหนือของประเทศฝรั่งเศส ซึ่งภาษานี้ได้พัฒนามาเป็นภาษาฝรั่งเศสในปัจจุบัน
Langue d'Oc เป็นภาษาที่ใช้คำว่า oc ในคำพูดว่า "ใช่" ภาษานี้พูดกันอยู่ทางตอนใต้ของฝรั่งเศสและทางเหนือของสเปน ซึ่งภาษานี้จะมีลักษณะคล้ายกับภาษาละตินมากกว่า Langue d'Oïl

ภาษาฝรั่งเศสยุคใหม่
นักวิชาการเรียกภาษาฝรั่งเศสที่พูดในช่วงก่อนหน้าปี พ.ศ. 1843 ซึ่งก็คือภาษา Langue d'Oïl ว่าเป็นภาษาฝรั่งเศสโบราณ เอกสารฉบับแรกที่เขียนขึ้นเป็นภาษาฝรั่งเศสโบราณ คือ "คำปฏิญาณแห่งทรัสบูร์ก" (Strasbourg) ซึ่งเขียนขึ้นในปี พ.ศ. 1385
ในปี พ.ศ. 2082 พระเจ้าฟรองซัวที่ 1 ได้ออกพระราชกฎษฎีกาที่กำหนดให้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาทางการของฝรั่งเศสแทนที่ภาษาละติน และกำหนดให้ใช้ภาษาฝรั่งเศสในการบริหารราชการ ในราชสำนัก และในการพิจารณาคดีในศาล ในช่วงนี้ได้มีการปรับปรุงตัวสะกดและการออกเสียงในภาษาฝรั่งเศส นักวิชาการเรียกภาษาฝรั่งเศสในยุคนี้ว่า ภาษาฝรั่งเศสยุคกลาง ในศตวรรษที่ 17 หลังจากที่มีการกำหนดมาตรฐานภาษาฝรั่งเศสให้พูดสำเนียงเดียวกันทั่วประเทศ การปรับปรุงและการกำหนดหลักต่างๆ ของภาษา ก็ทำให้เกิดภาษาฝรั่งเศสที่เรียกกันว่าภาษาฝรั่งเศสยุคใหม่ ซึ่งพูดกันอยู่ในปัจจุบัน
ในปี พ.ศ. 2177 พระคาร์ดินัลรีเชอลีเยอ (Richelieu) ได้ก่อตั้งองค์กรที่เรียกว่า L'Académie Française (อากาเดมี ฟรองแซส หรือ วิทยสถานแห่งประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเปรียบได้กับราชบัณฑิตยสถานของไทย) เพื่อทำหน้าที่ดูแลรักษาภาษาฝรั่งเศสไว้ไม่ให้วิบัติ และคงภาษาฝรั่งเศสให้อยู่ในรูปแบบเดิมให้มากที่สุด หน้าที่สำคัญหน้าที่หนึ่งขององค์กรนี้ คือ การออกพจนานุกรม าฤฆิแสฤ๋ษฆิแวษjscb;AOSljkcb;
ในช่วงศตวรรษที่ 17-19 ฝรั่งเศสได้มีบทบาทสำคัญในการเมืองของทวีปยุโรป และเป็นศูนย์กลางของปรัชญารู้แจ้งที่แพร่หลายกันอยู่ในสมัยนั้น ทำให้อิทธิพลของภาษาฝรั่งเศสแผ่ออกไปกว้างขวางและกลายเป็นภาษากลางของยุโรป มีบทบาทสำคัฐทางการทูต วรรณคดี และศิลปะ มหาราชในยุคนั้นสองพระองค์ คือ พระนางแคทเธอรีนมหาราชินีแห่งรัสเซีย และพระเจ้าเฟรดริกมหาราชแห่งปรัสเซีย สามารถตรัสและทรงพระอักษรเป็นภาษาฝรั่งเศสได้ดี

ภาษาฝรั่งเศสในปัจจุบัน
ถูกแทรกซึมโดยอิทธิพลของภาษาอังกฤษที่แผ่ขยายอย่างกว้างขวาง มีการนำคำภาษาอังกฤษมาใช้ปะปนกับภาษาฝรั่งเศสเดิมอย่างแพร่หลาย ซึ่งมีผลเสียต่อการอนุรักษ์ภาษาฝรั่งเศส รัฐบาลได้ออกกฎหมายบางฉบับเพื่ออนุรักษ์ภาษาฝรั่งเศส โดยกำหนดให้ใช้คำจากภาษาฝรั่งเศสแท้ๆ ในโฆษณา ประกาศ และเอกสารราชการต่าง ๆ นอกจากนี้ยังกำหนดให้สถานีวิทยุทุกสถานี เปิดเพลงภาษาฝรั่งเศสอย่างน้อยร้อยละ 40 ของเพลงทั้งหมดที่เปิดในสถานีนั้น

สถานะของภาษาฝรั่งเศสในประเทศฝรั่งเศส
ฝรั่งเศสกำหนดให้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาราชการของประเทศตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 รัฐบาลกำหนดให้เอกสารราชการ สัญญาต่าง ๆ การโฆษณาประชาสัมพันธ์ การศึกษา จะต้องทำเป็นภาษาฝรั่งเศส หากจำเป็นต้องใช้คำภาษาต่างประเทศ ก็ให้ใส่คำแปลเป็นภาษาฝรั่งเศสควบคู่กันไปด้วย
อย่างไรก็ดี ทางการไม่ได้ควบคุมการใช้ภาษาในเอกสารของเอกชน และในเว็บไซต์ของเอกชน ซึ่งหากทำการควบคุมแล้ว ก็อาจขัดต่อหลักการเสรีภาพในการพูดได้

สถานะของภาษาฝรั่งเศสในประเทศแคนาดา
ร้อยละ 12 ของคนที่พูดภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาแม่ในโลกนี้เป็นชาวแคนาดา และภาษาฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในภาษาราชการสองภาษาของแคนาดา (อีกภาษาหนึ่งคือภาษาอังกฤษ) กฎหมายของแคนาดากำหนดให้บริการต่างๆของรัฐบาลกลางจะต้องจัดให้เป็นสองภาษาเสมอ กฎหมายต่างๆ ที่ผ่านรัฐสภา จะต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส และฉลากผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่วางขายในแคนาดาจะต้องมีภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส ร้อยละ 22 ของชาวแคนาดาใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาแม่ และร้อยละ 18 ของชาวแคนาดาสามารถพูดได้ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส
ภาษาฝรั่งเศสมีสถานะเป็นภาษาราชการเพียงภาษาเดียวของรัฐควิเบก (เกเบก - Québec) มาตั้งแต่การบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยภาษาฝรั่งเศส (Bill 101) ผลสำคัญข้อหนึ่งของกฎหมายฉบับนี้คือกำหนดให้เด็กในควิเบกต้องได้รับการศึกษาเป็นภาษาฝรั่งเศส ยกเว้นถ้าบิดามารดาของเด็กคนนั้นได้รับการศึกษาส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษภายในประเทศแคนาดา ซึ่งเป็นการทำลายค่านิยมของผู้อพยพที่มักส่งบุตรหลานของคนเข้าเรียนในโรงเรียนที่สอนเป็นภาษาอังกฤษ กฎหมายนี้ยังกำหนดให้ใช้ภาษาฝรั่งเศสในการพิจารณาคดี โฆษณา การอภิปรายในสภา และการพิจารณาคดีในศาล ภายในควิเบก ในปี พ.ศ. 2536 กฎหมายนี้ได้รับการแก้ไข โดยอนุญาตให้เขียนป้ายสัญลักษณ์หรือโฆษณาต่าง ๆ เป็นภาษาอังกฤษได้บ้าง ตราบใดที่ยังมีภาษาฝรั่งเศสเป็นส่วนมาก นอกจากนี้ยังทำให้คนที่พูดภาษาอังกฤษแต่อาศัยในควิเบกสามารถรับบริการทางสุขภาพและบริการของรัฐเป็นภาษาอังกฤษได้
รัฐอื่น ๆ ที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาราชการควบคู่ไปกับภาษาอังกฤษ ได้แก่รัฐนิวบรันสวิก ยูคอนเทร์ริทอรี นอร์ทเวสต์เทร์ริทอรีส์ และนูนาวุต ในรัฐออนแทรีโอ และแมนิโทบา ภาษาฝรั่งเศสไม่ได้มีสถานะเป็นภาษาราชการ แต่รัฐบาลของรัฐทั้งสองรัฐได้จัดการบริการต่าง ๆ เป็นภาษาฝรั่งเศสคู่กับภาษาอังกฤษ ในบริเวณที่มีคนที่พูดภาษาฝรั่งเศสอาศัยอยู่มาก

สถานะของภาษาฝรั่งเศสในประเทศสวิตเซอร์แลนด์
ภาษาฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในภาษาราชการของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ภาษาอื่น ๆ ได้แก่ภาษาเยอรมัน ภาษาอิตาลี และภาษาโรมานช์