วันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2552

กว่าจะมาเป็น "น้ำยาลบคำผิด"


เคยสงสัยไหมว่า “น้ำยาลบคำผิด” หรือ “correcting fluid” ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้เกิดขึ้นมาได้ยังไง มาจากที่ไหน และใครเป็นคนคิดค้นขึ้นเป็นคนแรก …
เรื่องของเรื่องก็มีอยู่ว่า อนงค์นางหนึ่งมีนามว่า นางเบ็ต เนสมิธ เกรแฮม (Bette Nesmith Graham) ทำงานในหน้าที่เลขานุการเวลาที่เธอพิมพ์งานผิด เธอต้องเจอกับปัญหาการพิมพ์ผิดซึ่งเธอใช้ยางลบดินสอเป็นตัวช่วยลบทำให้การทำงานทั้งล่าทั้งช้าและไม่เรียบร้อย ต่อมามีเครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้าออกมาใช้ คราวนี้เธอเผชิญปัญหาหนักกว่าเก่า เพราะไม่สามารถใช้ยางลบดินสอลบทำผิดได้อีกต่อไป ต้องพิมพ์ใหม่สถานเดียว
กว่าจะมาเป็น "น้ำยาลบคำผิด"

เมื่อต้องประสบกับปัญหานี้อยู่บ่อยครั้งเธอจึงหาทางแก้ไขปัญหานี้ด้วยการประดิษฐ์น้ำยาลบคำผิดขึ้นมา ในปี ค.ศ.1950 เธอก็ค้นพบวิธีทำน้ำยาลบหมึกแบบง่าย เพียงใช้สีน้ำสีขาวบรรจุลงในขวดน้ำยาทาเล็บ ใช้พู่กันป้ายสีน้ำสีขาวลงบนกระดาษ แค่ก็สามารถลบคำผิดได้และพิมพ์ซ้ำทับได้แนบเนียน ใช้ง่าย รวดเร็ว และแก้ไขปัญหาได้อย่ามีประสิทธิภาพ
ความนิยมเริ่มเกิดขึ้นเมื่อบรรดาเพื่อนร่วมงานของเธอเห็นเช่นนั้น ก็ขอน้ำยาลบหมึกของเธอมาใช้กันบ้าง และนี้ก็คือจุดกำเนิดน้ำยาป้ายคำผิด correcting fluid
ต่อมาเมื่อมีความต้องการน้ำยาป้ายคำผิดมากๆ นางเกรแฮมจึงพัฒนาสีน้ำสีขาวและทำการผลิตที่บ้านออกจำหน่าย ด้วยการผสมสีขาวลงในเครื่องปั่น กรอกใส่ขวดยาทาเล็บ เป็นอุสาหกรรมครอบครัวยาวนานถึง 17 ปี ต่อมาในปี ค.ศ. 1979 เธอได้ขายกิจการให้บริษัทยิลเล็ต (Gillette) ในราคาที่สูงถึง 47.5 ล้านดอลลาร์ โดยสามารถผลิตน้ำยาลบคำผิดได้ถึง 25 ล้านขวด ออกจำหน่ายไปทั่วโลก
จากปัญหาเล็กๆ ก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ที่ก่อให้เกิดประโยชน์มาจนถึงทุกวันนี้ ช่างเป็นไอเดียที่น่าชื่นชมจริงๆ เลยนะคะ ขอยกนิ้วให้เลย!!!

วันอาทิตย์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2552

"ยา" กับความเข้าใจผิดๆ ...














มีหลายคนมีความเชื่อที่ผิดๆ เกี่ยวกับ "ยารักษาโรค" ซึ่งความเชื่อเหล่านั้นก็อาจจะนำมาซึ่งอันตรายก็ได้ อย่างเช่น ...

>>> ฉีดยาดีกว่ากินยา <<<
โดยหลักการแล้ว ยารับประทานเป็นยาที่แพทย์จะเลือกใช้เป็นลำดับแรก เพราะสามารถรักษาโรคหรือบำบัดอาการได้เกือบทั้งหมด ใช้ง่ายและสามารถติดตัวเพื่อรับประทานต่อเนื่อง สำหรับยาฉีดนั้นเหมาะกับผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานยา หรือในผู้ป่วยหนัก หรือผู้ป่วยที่ต้องการผลให้ระดับยาสูงขึ้นทันที หลังจากนั้นเมื่อคุมอาการได้ แพทย์ก็จะพิจารณาให้รับประทานยาต่อ
สิ่งที่ควรรู้ คือ อันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากยาฉีดนั้นจะแก้ไขได้ยาก หรือรุนแรงมากกว่ายารับประทานและมีบ้างที่อาจแก้ไขไม่ทัน

>>> ยาแพงดีกว่ายาถูก <<<
ความเชื่อนี้ไม่จริงเสมอไป โดยเฉพาะยาปัจจุบันที่มีอยู่ในท้องตลาดเป็นส่วนใหญ่ ยาที่แพงอาจเนื่องจากมีการบวกค่าโฆษณา ค่าการค้นคว้าในอดีต และการบวกกำไรลงไปในราคายามากเป็นหลายเท่าตัว
ข้อควรปฏิบัติ คือ ควรสอบถามเภสัชกร หรือแพทย์ว่ายาดังกล่าวสามารถเชื่อถือคุณภาพได้มากน้อยเพียงใด ใช้เกณฑ์อะไรในการพิจารณาว่ายามีคุณภาพ

>>> ยาตัวใหม่ดีกว่ายาตัวเก่า <<<
ความเชื่อนี้มีส่วนจริงบ้างแต่ไม่เสมอไป ยาที่ออกใหม่หลายตัวก็มีผลการรักษาที่ไม่แตกต่างจากยาเดิม แต่ก็มียาใหม่ที่คิดค้นขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ที่ยาเก่าใช้ไม่ได้ผล อันเป็นปัญหาที่ซับซ้อนสะสมมานาน ทั้งจากด้านผู้ใช้ยาที่ใช้ไม่ถูกต้อง และผู้สั่งใช้ไม่ปฏิบัติตามมาตรฐาน หรือแนวทางที่ถูกต้องในการรักษา นอกจากนี้ยาใหม่อาจมีการพัฒนาเพื่อให้ใช้ได้ง่ายขึ้น ลดอาการข้างเคียงบางอย่างลง หรือทันต่อโรคใหม่ ๆ อย่างไรก็ตามข้อเสียของยาใหม่คือมีข้อมูลการใช้ไม่มากพอ ผู้ใช้จึงเป็นเสมือนหนูลองยา บ่อยครั้งที่ต้องมีการถอนยาตัวนั้นออกจากตลาด หลังจากใช้ไปได้ระยะหนึ่ง เพราะความเป็นพิษรุนแรงบางชนิดทำให้พิการบางชนิดมีผลให้เสียชีวิต
สิ่งที่ควรรู้ คือ การรักษาจะได้ผลหรือไม่ขึ้นกับการวิเคราะห์อาการได้ถูกต้อง การเลือกใช้ยาที่เหมาะสมความร่วมมือในการรักษา ความสามารถในการใช้ยาที่มีวิธีการใช้พิเศษ เช่น ยาพ่น และการปฏิบัติตัวตามคำแนะนำอย่างสม่ำเสมอ

>>> เมื่ออาการหายก็ไม่ต้องรับประทานยาต่อ <<<
ความเชื่อนี้มีทั้งที่จริงและไม่จริงยาที่รักษาอาการ เช่น ยาแก้ปวดหัว ยาลดไข้ ยาบรรเทาอาการหวัด ยาเหล่านี้เมื่อไม่มีอาการก็สามารถที่จะหยุดได้ แต่ยาที่มีการระบุไว้ที่ฉลากว่า "ควรรับประทานติดต่อกันทุกวันจนหมด" หรือยารักษาโรคเรื้อรัง เช่น ความดันเลือดสูง เบาหวาน จะต้องรับประทานต่อเนื่องตามขนาด และเวลาที่ระบุถึงแม้จะควบคุมอาการได้แล้วก็ตาม เพราะเป็นยาที่รักษาที่ต้นเหตุของการเจ็บป่วยนั้น มิฉะนั้นอาจทำให้เรื้อรัง ดื้อยา หรือไม่สามารถคุมอาการได้
ข้อควรปฏิบัติ คือ สอบถามทุกครั้งที่ได้รับยาว่ามียาขนานใดที่ต้องรับประทานตามขนาดและเวลาที่สั่งจนหมด ในทางปฏิบัติทั่วไปยาที่ให้โดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อบำบัดเมื่อมีอาการเท่านั้นที่ไม่ต้องรับประทานจนหมด นอกนั้นควรรับประทานจนหมดเพื่อลดปัญหาการเก็บ และการนำกลับมาใช้ใหม่ที่อาจเป็นอันตราย
>>> อาการเจ็บป่วยของตนนั้นต้องใช้ยาแรง ยาอ่อนไม่ได้ผล <<<
หากไม่ได้เป็นโรคเรื้อรัง การเจ็บป่วยแต่ละครั้งนั้นไม่ขึ้นต่อกัน การใช้ยาแต่ละครั้งจึงไม่เกี่ยวข้องกันผู้ป่วยมักได้รับการบอกจากผู้ให้บริการว่า สำหรับคุณจำเป็นที่ต้องได้รับยาแรง ยาอ่อนไม่ได้ผล หรือร้านนี้ไม่มียาอ่อน การพูดดังกล่าวเป็นเพียงการสร้างความเข้าใจที่ผิด และต้องการที่จะให้ผู้รับบริการเชื่อว่าได้รับยาที่ดีที่สุด และเป็นเสมือนการโฆษณาชวนเชื่อ สามารถที่จะเรียกเก็บเงินในราคาสูง ยาที่ดีที่สุดนั้นเป็นยาที่ตรงกับอาการ หรือสาเหตุจริงของการเจ็บป่วย อาการจะหายหรือไม่หายขึ้นกับความสามารถในการวิเคราะห์โรค และการเลือกยาที่เหมาะสม
ข้อควรปฏิบัติ คือ บอกเล่าอาการให้ละเอียด มีประวัติการใช้ยา อาหารเสริม สมุนไพร หรือการแพ้อะไร มีโรคประจำตัวหรือไม่ และสอบถามวิธีปฏิบัติข้อควรระวังในระหว่างการใช้ยานั้น
>>> ยาชุดดีกว่ายาเดี่ยว <<<
ยาชุดเป็นการจัดยาหลายขนานเข้าด้วยกันที่นับว่าเป็นเสมือนสิ่งที่ปฏิบัติต่อ เนื่องกันมาของสังคมไทย เพื่อความสะดวกในการรับประทานและง่ายต่อการจัดของผู้ป่วย สำหรับยาเดี่ยวนั้นจะบรรจุยาแต่ละชนิดแยกจากกัน ข้อดีของยาเดี่ยวคือไม่ปนเปื้อนยาบางขนานอาจให้ในเวลาที่ต่างกัน แต่สำหรับชาวบ้านทั่วไปจะยากในการใช้ให้ถูกต้อง ยาชุดหรือยาเดี่ยวจึงไม่แตกต่างกัน ถ้าเป็นยาที่รับประทานเวลาเดียวกันและตรงกับอาการที่เป็นจริง แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมไทยคือ ยาชุดที่มีการจัดมักจะมีการใส่ยาที่มีอันตรายมาก เช่น สเตียรอยด์ ลงไปในยาชุดโดยหวังให้กดหรือบดบังอาการชั่วคราว และจะเป็นอันตรายร้ายแรงเมื่อใช้ต่อเนื่อง
ข้อควรปฏิบัติ คือ หากเลี่ยงได้ให้เลี่ยงยาชุดโดยเฉพาะยาชุดที่มีการจัดเตรียมไว้ล่วงหน้า และให้บอกว่าไม่ต้องการยาสเตียรอยด์
>>> ยารับประทานจะรับประทานก่อน หรือหลังอาหารก็ได้ไม่แตกต่างกัน <<<

ความเชื่อนี้ไม่จริงเสมอไป โดยมาแล้วยารับประทานมักจะให้รับประทานหลังอาหารเพื่อสะดวกในการรับประทาน และไม่ลืมเป็นการเพิ่มความร่วมมือในการใช้ยา ยาหลังอาหารนั้นสามารถที่จะรับประทานหลังอาหารได้ทันที หรือภายในครึ่งชั่วโมง
สำหรับยาก่อนอาหารจะต้องรับประทานก่อนอาหารอย่างน้อยครึ่งชั่วโมงถึงหนึ่ง ชั่วโมง อย่างไรก็ตามหากระบุให้รับประทานก่อนอาหารพร้อมอาหารหรือหลังอาหารทันที ก็ควรที่จะปฏิบัติตามเวลาที่รับประทานที่ถูกต้องของยาดังกล่าว เนื่องจากยาบางตัวไม่ทนกรด ยาบางตัวมีผลกัดกระเพาะ ยาบางตัวจะดูดซึมได้ดีเมื่อรับประทานพร้อมอาหารหรืออาหารที่มีไขมันสูง
สิ่งที่ควรรู้ คือ การได้รับยาที่มากกว่า 1 ขนานสามารถที่จะเกิดยาตีกันได้ (อันตรกิริยาของยา) ในบางครั้งการให้รับประทานก่อนหรือหลังอาหารแยกจากกัน ก็มีจุดมุ่งหมายที่จะป้องกันไม่ให้ยาตีกันดังกล่าว จึงควรที่จะรับประทานให้ถูกต้องเพื่อผลการรักษาที่ดี และลดอาการอันไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้นได้
โอ๊ะโอ มีความเชื่อเกี่ยวกับยารักษาโรคมากมายหลายอย่างที่เราเข้าใจผิดมาตลอดเลยนะคะ แบบนี้ไม่ได้การซะแล้วล่ะ ต้องรีบทำความเข้าใจกันใหม่แบบเร่งด่วนเลยนะคะ ไม่อย่างนั้นอันตรายแย่เลย ...

วันอังคารที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ขนมไทย

ขนมไทย
ประวัติความเป็นมาของขนมไทย
สมัยสุโขทัย
ขนมไทยมีที่มาคู่กับชนชาติไทย จากประวัติศาสตร์ที่ติดต่อค้าขายกับต่างประเทศคือ จีนและอินเดียในสมัยสุโขทัย มีส่วนช่วยส่งเสริมการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ด้านอาหารการกินร่วมไปด้วย
สมัยอยุธยา
เริ่มมีการเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับต่างประเทศทั้งชาติตะวันออกและตะวันตก ไทยเรายิ่งรับเอาวัฒนธรรมด้านอาหารของชาติต่างๆ มาดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพความเป็นอยู่ เครื่องมือเครื่องใช้ วัตถุดิบที่หาได้ ตลอดจนนิสัยการบริโภคของคนไทยเอง จนบางทีคนรุ่นหลังแทบจะแยกไม่ออกเลยว่า อะไรคือขนมไทยแท้ๆ อะไรที่เรายืมเค้ามา เช่น ทองหยิบ ทองหยอดและฝอยทอง หลายท่านอาจคิดว่าเป็นของไทยแท้ๆ แต่ความจริงแล้วมีต้นกำเนิดจากประเทศโปรตุเกส โดย "มารี กีมาร์" หรือ "ท้าวทองกีบม้า"
"มารี กีมาร์" หรือ "ท้าวทองกีบม้า"เกิดเมื่อ พ.ศ. 2201 หรือ พ.ศ. 2202 แต่บางแห่งก็ว่า พ.ศ. 2209 โดยยึดหลักจากการแต่งงานของเธอที่มีขึ้นในปี พ.ศ. 2225 และขณะนั้น
มารี กีมาร์ มีอายุเพียง 16 ปี บิดาชื่อ "ฟานิก (Phanick)" เป็นลูกครึ่งญี่ปุ่นผสมแขกเบงกอล ผู้เคร่งศาสนา ส่วนมารดาชื่อ "อุรสุลา ยามาดา (Ursula Yamada)" ซึ่งมีเชื่อสายญี่ปุ่นผสมโปรตุเกส ที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานในอยุธยา ภายหลังจากพวกซามูไรชุดแรกจะเดินทางเข้ามาเป็นทหารอาสา ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ไม่นานนักชีวิตช่วงหนึ่งของ "ท้าวทองกีบม้า" ได้เข้าไปรับราชการในพระราชวังตำแหน่ง "หัวหน้าห้องเครื่องต้น" ดูแลเครื่องเงินเครื่องทองของหลวง เป็นหัวหน้าเก็บพระภูษาฉลอง พระองค์ และเก็บผลไม้ของเสวย มีพนักงานอยู่ใต้บังคับบัญชาเป็นหญิงล้วน จำนวน 2,000 คน ซึ่งเธอก็ทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เป็นที่ชื่นชม ยกย่อง มีเงินคืนทองพระคลังปีละมากๆ ระหว่างที่รับราชการนี่เอง มารี กีมาร์ ได้สอนการทำขนมหวานจำพวก ทองหยอด ทองหยิบ ฝอยทอง ทองพลุ ทองโปร่ง ขนมผิงและอื่นๆ ให้แก่ผู้ทำงานอยู่กับเธอและสาวๆ เหล่านั้น ได้นำมาถ่ายทอดต่อมายังแต่ละครอบครัวกระจายไปในหมู่คนไทยมาจนปัจจุบันนี้ ถึงแม้ว่า "มารี กีมาร์" หรือ "ท้าวทองกีบม้า" จะมีชาติกำเนิดเป็นชาวต่างชาติ แต่เธอก็เกิด เติบโต มีชีวิตอยูในเมืองไทยจวบจนหมดสิ้นอายุขัย นอกจากนั้น ยังได้ทิ้งสิ่งที่เธอค้นคิดให้เป็นมรดกตกทอดมาสู่คนรุ่นหลัง ได้กล่าวขวัญถึงด้วยความภาคภูมิ "ท้าวทองกีบม้า เจ้าตำรับอาหารไทย