วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2552

พระราชวังแวร์ซายส์


Palace of Versailles
ประวัติ

เดิมนั้น เมืองแวร์ซายส์เป็นเพียงเมืองเล็ก ๆ แห่งหนึ่งเท่านั้น มีผู้คนอาศัยอยู่เบาบาง บริเวณส่วนใหญ่เป็นป่าเขา เยี่ยงชนบทอื่น ๆ ของฝรั่งเศส เมื่อพระเจ้าหลุยส์ที่ 13 ยังทรงพระเยาว์ ขณะพระชนมายุได้ 23 พระชันษา ทรงนิยมล่าสัตว์ในป่า และทรงเห็นว่าตำบลแวร์ซายส์น่าจะเหมาะแก่การประทับเพื่อล่าสัตว์ จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระตำหนักขึ้นมาใน พ.ศ. 2167 โดยในช่วงแรกเป็นเพียงกระท่อมเล็กๆ สำหรับพักชั่วคราวเท่านั้น
เมื่อ
พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ขึ้นครองบัลลังก์ มีประสงค์ที่จะสร้างพระราชวังแห่งใหม่ เพื่อเป็นศูนย์กลางในการปกครองของพระองค์ จึงเริ่มปรับปรุงพระตำหนักเดิมในปี พ.ศ. 2204 ใช้เงินทั้งหมด 500,000,000 ฟรังก์ คนงาน 30,000 คน และใช้เวลาอยู่ถึง 30 ปีจึงแล้วเสร็จในพ.ศ. 2231 ทุกส่วนทำด้วยหินอ่อนสีขาว เป็นแบบอย่างศิลปกรรมที่งดงามมาก ภาย ในแบ่งออกเป็นห้องๆ เช่น ห้องบรรทม ห้องเสวย ห้องสำราญ ฯลฯ ทุกห้องล้วนมีเครื่องประดับงดงามตระการตาและภาพเขียนที่มีชื่อเสียง
การก่อสร้างพระราชวังแวร์ซายส์แห่งนี้ได้นำเงินมาจากค่าภาษีอากรของราษฎรชาวฝรั่งเศส ต่อมาจึงได้มีกองทัพประชาชนบุกเข้ายึดพระราชวังและจับ
พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 กับพระนางมารี อองตัวเนต ประหารด้วย "กิโยติน" ในวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2332 ปัจจุบันพระราชวังแวร์ซายส์ยังอยู่ในสภาพดีและเปิดให้ประชาชนเข้าชมได้

วันเสาร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2552

Musée du Louvre

Musée du Louvre


Le musée du Louvre est le plus grand musée parisien par sa surface (210 000 m² dont 68 000 consacrés aux expositions[2]) et l'un des plus importants du monde. Situé au cœur de la ville de Paris, entre la rive droite de la Seine et la rue de Rivoli, dans le Ier arrondissement, le bâtiment est un ancien palais royal, le Palais du Louvre. La statue équestre de Louis XIV constitue le point de départ de l'axe historique, mais le palais n'est pas aligné sur cet axe. Le Louvre possède une longue histoire de conservation artistique et historique de la France, depuis les rois capétiens jusqu'à nos jours.
Musée universaliste, le Louvre couvre une chronologie et une aire géographique larges, depuis l'Antiquité jusqu'à 1848, de l'Europe occidentale jusqu'à l'Iran, via la Grèce, l'Égypte et le Proche-Orient. À
Paris, la période postérieure à 1848 pour les arts européens est prise en charge par le musée d'Orsay et le centre Georges-Pompidou, alors que les arts asiatiques sont exposés au musée Guimet. Les arts d'Afrique, d'Amérique et d'Océanie prennent quant à eux place au musée du quai Branly, mais une centaine de chefs-d'œuvre sont exposés au pavillon des Sessions. Les œuvres sont de nature variée : peintures, sculptures, dessins, céramiques, objets archéologiques et objets d'art entre autres. Parmi les pièces les plus célèbres du musée se trouvent le Code d'Hammurabi, la Vénus de Milo, La Joconde de Léonard de Vinci, et La Liberté guidant le peuple d'Eugène Delacroix. Le Louvre est le musée le plus visité au monde, avec 8,3 millions de visiteurs en 2006.

วันอังคารที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2552

จักรพรรดินโปเลียนที่ 3

จักรพรรดินโปเลียนที่ 3
จักรพรรดินโปเลียนที่ 3 (Napoléon III de France) หรือเป็นที่รู้จักกันในพระนาม หลุยส์-นโปเลียน โบนาปาร์ต (20 เมษายน พ.ศ. 23519 มกราคม พ.ศ. 2416) ประธานาธิบดีพระองค์แรกแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส ต่อมาได้กลายเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิฝรั่งเศสในพระนาม จักรพรรดินโปเลียนที่ 3 โดยการก่อรัฐประหาร พระองค์ยังถือว่าเป็นประธานาธิบดีพระองค์แรกของสาธารณรัฐฝรั่งเศสและจักรพรรดิพระองค์สุดท้ายของจักรวรรดิฝรั่งเศสอีกด้วย

ประวัติ
เจ้าชายหลุยส์-นโปเลียน ประสูติ ณ
กรุงปารีส เป็นโอรสพระองค์ที่ 3 ของหลุยส์ โบนาปาร์ต พระอนุชาในจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 และพระนางออร์ตองซ์ เดอ โบอาร์เนส์ พระราชธิดาใน พระนางโฌเซฟีน เดอ โบอาร์เนส์‎ (จากการสมรสครั้งแรก) พระมเหสีในจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ในรัชสมัยของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 พระบิดา - มารดาของพระองค์ได้รับตำแหน่งให้เป็นกษัตริย์และพระราชินีแห่งราชอาณาจักรฮอลแลนด์ ซึ่งเป็นรัฐบาลหุ่นของจักรวรรดิฝรั่งเศส แต่ภายหลังจากการพ่ายแพ้และลงจากตำแหน่งของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ในปี พ.ศ. 2358 และการกลับมาของราชวงศ์บูร์บงในประเทศฝรั่งเศส สมาชิกราชวงศ์โบนาปาร์ตได้ถูกเนรเทศออกจากประเทศฝรั่งเศส ส่งผลให้หลุยส์-นโปเลียน ผู้เยาว์วัยได้เติบโตขึ้นมาในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ (อาศัยกับพระมารดาในมลรัฐเล็กๆ ชื่อว่า Thurgau) และในประเทศเยอรมนี (ได้รับการศึกษาที่โรงเรียนเตรียมมหาวิทยาลัย เมืองออกซ์บูร์ก บาวาเรีย) ในฐานะหนุ่มวัยเยาว์เขาได้อาศัยในประเทศอิตาลี ในที่ๆ พระเชษฐา นโปเลียน หลุยส์ ได้สนับสนุนการปกครองแบบเสรีนิยมและมีส่วนร่วมกับคาร์โบนารี องค์กรต่อต้านอิทธิพลของออสเตรียในดินแดนตอนเหนือของประเทศอิตาลี ซึ่งต่อมาจะมีอิทธิพลต่อการปกครองของพระองค์ในนโยบายการต่างประเทศ
ขณะนั้นประเทศฝรั่งเศสยังปกครองด้วยราชวงศ์บูร์บง ต่อมาราชวงศ์ออร์เลอง และยังมีขบวนการสนับสนุนราชวงศ์โบนาปาร์ต (โบนาปาร์ตนิยม) อยู่อีกด้วย ตามกฎหมายว่าด้วยการสืบสันตติวงศ์ของ
จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ที่ได้ประกาศในสมัยรัชสมัยของพระองค์ ผู้ซึ่งมีสิทธิในราชบัลลังก์อันดับแรกคือพระราชโอรสของพระองค์ ดยุ๊คแห่งไรค์สตัดต์ หรือเป็นที่รู้จักในพวกโบนาปาร์ตนิยมว่า "นโปเลียนที่ 2" ซึ่งเป็นหนุ่มขี้โรคที่ถูกจำคุกอยู่ในศาลแห่งเวียนนา ลำดับต่อมาคือ พระเชษฐาของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 พระนามว่า "โฌเซฟ โบนาปาร์ต" ต่อมาคือ หลุยส์ โบนาปาร์ตและโอรสทั้งหลาย (พระเชษฐาของหลุยส์ โบนาปาร์ต ลูเซียง โบนาปาร์ตและทายาทได้ถูกข้ามในรายพระนามผู้มีสิทธิในราชบัลลังก์เนื่องจากพระองค์ทำให้จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ไม่พอใจในการขึ้นครองราชย์ของพระองค์เอง) เมื่อโฌเซฟ โบนาปาร์ตไม่มีโอรส และสิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. 2374 และการสิ้นพระชนม์ของดยุ๊คแห่งไรค์สตัดต์ ทำให้หลุยส์-นโปเลียนกลายมาเป็นองค์รัชทายาทในการสืบบัลลังก์ ซึ่งพระปิตุลาและพระบิดาของพระองค์ก็ได้มีพระชนม์มากแล้ว ซึ่งก็ปล่อยภาระให้มาอยู่ในพระกรของพระองค์
พระองค์ได้แอบกลับสู่ประเทศฝรั่งเศสในเดือนตุลาคม
พ.ศ. 2379 และเป็นครั้งแรกในพระชนมชีพที่ได้เป็นผู้นำในการรัฐประหาร พร้อมด้วยพวกโบนาปาร์ตนิยมที่เมืองสตราสบูร์ก ทางด้านพระเจ้าหลุยส์-ฟิลิปป์ก็ได้สถาปนาราชวงศ์แห่งเดือนกรกฎาคมในปี พ.ศ. 2373 และเผชิญหน้ากับฝ่ายตรงข้ามทั้งผู้สนับสนุนกษัตริย์พระองค์ที่สืบพระราชสันตติวงศ์มาโดยถูกต้อง พวกสาธารณรัฐนิยมและโบนาปาร์ตนิยม ถึงกระนั้นการรัฐประหารได้ประสบความล้มเหลว และถูกเนรเทศไปยังโลเรียงต์ และต่อมาที่สหรัฐอเมริกา และได้พำนักอยู่ที่นิวยอร์กเป็นเวลา 4 ปี และอีกครั้งหนึ่งที่เขาลักลอบกลับมาและพยายามอีกครั้งในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2383 โดยล่องเรือมากับทหารจ้างจำนวนหนึ่งสู่บูโลญ แต่ทว่าในครั้งนี้ พระองค์ถูกจับได้และถูกตัดสินให้จำคุกตลอดชีวิต ถึงกระนั้นพระองค์ก็ยังอยู่ในความช่วยเหลือของพระประยูรญาติที่เมืองออง (Ham) เขตการปกครองซอมม์ ขณะที่เขาอยู่ในสถานที่ปลอดภัยแห่งหนึ่ง สายพระเนตรของพระองค์ได้แย่ลง แต่พระองค์ก็ยังประพันธ์เรียงความร้อยแก้วและหนังสือที่เกี่ยวกับการอ้างสิทธิในการขึ้นครองราชย์ของพระองค์และการปฏิรูปการปกครอง รวมทั้งข้อเสนอเกี่ยวกับเศรษฐกิจแบบผสมสังคมนิยมอีกด้วย ซึ่งพระองค์ก็ได้ให้ความหมายว่าเป็น ลัทธินิยมโบนาปาร์ต ต่อมาในปี พ.ศ. 2387 พระปิตุลาของพระองค์ โฌเซฟ โบนาปาร์ตได้สิ้นพระชนม์ลง ทำให้พระองค์อยู่ในสายการสืบสันตติวงศ์ในการขึ้นครองราชย์ประเทศฝรั่งเศส ต่อมาพระองค์ก็ได้หลบหนีไปยังเมืองเซาธ์พอร์ท ประเทศอังกฤษ ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2389 โดยการเปลี่ยนฉลองพระองค์กับช่างก่ออิฐคนหนึ่ง (ซึ่งต่อมาศัตรูของพระองค์ได้เยาะเย้ยพระองค์โดยการตั้งชื่อเล่นให้พระองค์ว่า "บาแดงเกต์ (Badinguet) " ซึ่งเป็นชื่อของช่างก่ออิฐที่พระองค์สลับฉลองพระองค์ด้วย) หนึ่งเดือนต่อมาพระบิดาของพระองค์ หลุยส์ ได้สิ้นพระชนม์ลง ทำให้เจ้าชายหลุยส์-นโปเลียนเป็นรัชทายาทในราชสกุลโบนาปาร์ตอย่างปฏิเสธไม่ได้

ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส
เจ้าชายหลุยส์-นโปเลียนประทับอยู่ใน
สหราชอาณาจักรจนกระทั่งเกิดการปฏิวัติในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2391 ที่ประเทศฝรั่งเศส และมีการปลดหลุยส์-ฟิลิปป์ออกจากราชบัลลังก์และสถาปนาสาธารณรัฐฝรั่งเศสขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งพระองค์ก็สามารถนิวัติกลับประเทศฝรั่งเศส ซึ่งพระองค์ก็ได้กระทำเช่นนั้น พระองค์ได้ลงสมัครเลือกตั้งประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส พ.ศ. 2391 และพระองค์ก็ได้เป็นประธานาธิบดีพระองค์แรกแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส แต่ไม่ได้รับการสนับสนุนมากนัก ทั้งถูกมองว่าเป็นนักปราศรัยระดับปานกลางและล้มเหลวในการทำให้สมาชิกประทับใจอีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้น หลายคนยังคิดว่าการที่พระองค์ประทับอยู่นอกประเทศฝรั่งเศสเป็นเวลานานทำให้พระองค์ตรัสภาษาฝรั่งเศสโดยมีสำเนียงเยอรมันแทรกเข้ามาด้วย
อย่างไรก็ตาม เมื่อรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 2 ได้ประกาศเป็นที่เรียบร้อยแล้วและมี
การเลือกตั้งในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2391 ซึ่งเจ้าชายหลุยส์-นโปเลียนชนะด้วยคะแนนถล่มทลาย ด้วยคะแนนเสียงกว่า 5,454,000 (หรือประมาณ 75% ของทั้งหมด) ผู้สมัครคู่แข่งที่ได้คะแนนมาเป็นอันดับสองคือ หลุยส์ อูแชน กาวาญัค ซึ่งได้คะแนนเสียงไป 1,448,000 คะแนน หลุยส์-นโปเลียนไม่มีประสบการณ์ทางการเมืองมาก่อน พระองค์กล่าวว่าพระองค์เป็นดั่ง "ทุกสิ่งทุกอย่างของทุกคน" พวกนิยมกษัตริย์ขวา (ซึ่งสนับสนุนพระประยูรญาติราชวงศ์บูร์บงหรือออร์เล-อง) และชนชั้นกลางส่วนมากสนับสนุนพระองค์ด้วยเหตุผลที่ว่าพระองค์เป็น "ผู้สมัครที่แย่น้อยที่สุด" ซึ่งคาดหมายว่าพระองค์จะเป็นผู้รื้อฟื้นความแข็งแกร่งกลับคืนมา หลังจากเสถียรภาพของประเทศฝรั่งเศสสั่นคลอนหลังจากการปฏิวัติโค่นล้มกษัตริย์ในเดือนกุมภาพันธ์ และป้องกันการปฏิวัติสังคมนิยมอีกด้วย ในทางกลับกัน ชนชั้นล่างซึ่งทำงานในด้านอุตสาหกรรม สนับสนุนหลุยส์-นโปเลียนจากการแสดงมุมมองการปฏิรูปเศรษฐกิจที่ไม่สู้ชัดเจนนัก ในการชนะเลือกตั้งของพระองค์นั้น คะแนนส่วนมากมาจากมวลชนชนบทซึ่งไม่ได้รับความรู้ทางการเมือง